A New Thai Food Dictionary App is Now Available

 

The CU Chalermprakiat Center of Translation and Interpretation has launched the “Thai Food Terms Application”, a collection of over 1,500 Thai food terms that will make communication about Thai food with foreigners easier.  The launch was held on Thursday, 9 August 2018, at the Mahachakri Sirindhorn Building, Faculty of Arts.  During the event, the attendees became the first to preview and download the new Thai food dictionary application.

The “Thai Food Terms Application” was developed by the Chalermprakiat Center of Translation and Interpretation, in collaboration with the National Electronics and Computer Technology Center. The app features a dictionary of words related to Thai food, with correct pronunciation and image.  Up to seven languages are available, including English, Chinese, Japanese, French, German, Italian, and Spanish.  Users can search for words by keyword, category, index, or images.  Designed to be functional, fast, and easy to use, the application is compatible with both smartphones and tablets.

For more detail, contact the Chalermprakiat Center of Translation and Interpretation of Chulalongkorn University at 0-2218-4920.

 

Source: https://www.chula.ac.th/en/news/12310/

อักษรศาสตร์ จุฬาฯ จับมือ เนคเทค เปิดตัวแอปพลิเคชัน “Thai Food Terms” พจนานุกรมศัพท์อาหารไทย 7 ภาษา พร้อมใช้งานแล้ววันนี้

9 สิงหาคม 2561-อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: ศูนย์การแปลภาษาและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำแอปพลิเคชัน Thai Food Terms แอปพลิเคชันพจนานุกรมศัพท์อาหารไทย 7 ภาษา เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับศัพท์อาหารไทยพร้อมคำแปลเป็นภาษาต่างประเทศ สามารถใช้งานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ตโฟนในระบบ iOS Version 8 ขึ้นไป และ Android

รศ.ดร.กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา คณบดีคณะอักษรศาสตร์ได้กล่าวเปิดงานว่า “ดิฉันขอแสดงความยินดีกับศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์ที่ได้ผลิตสื่อให้ความรู้ที่ทันสมัยและใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้างและขอขอบคุณศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) ที่ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งในการพัฒนาระบบบนแพลตฟอร์ม iOS และ Android ที่ทำให้ข้อมูลต่างๆ สามารถปรากฏในแอปพลิเคชันบนมือถือและแท็บเล็ต ซึ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน ทำให้สอดคล้องกับยุคไทยแลนด์ 4.0 ของเราในปัจจุบัน

“ดิฉันหวังว่าแอปพลิเคชันนี้จะส่งเสริมความรู้และความเข้าใจอันดีเกี่ยวกับอาหารไทย ทั้งจะช่วยสนับสนุน การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมและการส่งออกอาหารไทยไปต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังจะเป็นประโยชน์ต่อบุคคลทั่วไปหลายอาชีพ ทั้งนักแปล ล่าม นิสิต นักศึกษา มัคคุเทศก์ พนักงานสายการบิน พนักงานโรงแรม ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอาหารไทยและนักท่องเที่ยวจากประเทศต่างๆ” รศ.ดร.กิ่งกาญจน์ กล่าว

ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยวิทยาการสื่อสารของมนุษย์และคอมพิวเตอร์ เนคเทค กล่าวว่า “เนคเทคมีหน่วยงานที่มุ่งพัฒนางานวิจัยที่ใช้เทคโนโลยีด้านภาษาธรรมชาติและความหมาย ซึ่งมีประสบการณ์มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 20 ปี มีนโยบายที่จะสนับสนุนให้หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ตลอดจนบุคลากรสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์อย่างทั่วถึง เพื่อช่วยในการพัฒนาประเทศให้เจริญรุดหน้าทัดเทียมกับต่างประเทศ ซึ่งในขณะนี้ เนคเทคได้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่รองรับการใช้งานบนสมาร์ตโฟนในรูปแบบของโมไบล์แอปพลิเคชัน โดยจะสามารถนำมาประยุกต์กับข้อมูลด้านศัพท์อาหารไทยซึ่งมีคำแปลเป็นภาษาต่างๆ ได้ถึง 7 ภาษา”

 

ที่มา: https://www.nectec.or.th/news/news-pr-news/thaifoodterms.html

Eat Your Way to Understanding Thai with New App

FEELING LOST among the food-stall choices? Turn to your phone and open a new app.

The Thai Food Terms app in seven languages was launched yesterday by Chulalongkorn University’s Faculty of Arts in partnership with the National Electronics and Computer Technology Centre (Nectec).

“It will benefit gastronomy, tourism and the country’s food industry,” faculty dean Assoc Prof Kingkarn Thepkanjana said at a press conference yesterday at Chulalongkorn University.

“It will be useful for translators, interpreters, students, tour guides, flight attendants, hotel receptionists and restaurant owners – as well as tourists visiting Thailand,” Kingkarn said. The application, derived from a decade-long research by the university’s Faculty of Arts, was developed and launched by Nectec.

More than 1,600 Thai culinary terms are translated in seven languages – English, Chinese, Japanese, German, Italian, French and Spanish – and accompanied with an image and audio recording. The list ranges from main dishes, desserts and snacks to cooking methods, ingredients, herbs and drinks.

The list contains famous Thai staples such as som tam (spicy papaya salad) and tod man pla (fish cake) to such delights as ka la mae (Thai chewy caramel candy).

The idea behind the application is to set a standard for Thai food terms and reduce confusion.

“For instance, ‘curry’ can refer to several different dishes,” Asst. Prof Sarapi Gaston said.

It can refer to massaman, choo chee or even kaeng phet. This can be really confusing for foreigners. While massaman is a non-spicy Indian-style curry, choo chee is usually cooked with fish and coconut milk, and kaeng phet is a clear, spicy curry, Sarapi, who is the programme coordinator, explained.

“In Thai, we have three words for three kinds of basil – kra phao, ho ra pha and maeng luk – and each is used to cook totally different dishes. Yet in English, they are all called Thai basil. When an expat wants to cook phad kra phao [stir-fried chicken with Thai basil], for example, they will be perplexed to find three different herbs all labelled Thai basil,” Sarapi explained.

University student Piyarat Panpoosa, who has downloaded the Italian version of the app, lauded the creation.

“I think it is a really good application. There are even terms for not-so-common Thai dishes – something other than som tam or phad Thai. It will give tourists more choices. But I think it should be made a little easier to use.”

The app will be fully available on both iOS and Android platforms next week. The “lite” version is free for download, but to access the comprehensive 1,600-word dictionary, opt for the full version (Bt99 on either platform).

 

BY KORNRAWEE PANYASUPPAKUN 
THE NATION

source: http://www.nationmultimedia.com/detail/national/30351857

เปิดตัว แอปฯ ‘Thai Food Terms’ คลังศัพท์อาหารไทย 7 ภาษา

 

 

“จุฬาฯ-เนคเทค” เปิดตัวแอปพลิเคชัน “Thai Food Terms” รวมศัพท์ต่างๆ เกี่ยวกับอาหารไทย 7 ภาษาทั้งตะวันตกและตะวันออก รวม 1,600 รายการ ครอบคลุม 14 หมวด ชี้เป็นนวัตกรรมที่ช่วยสนับสนุน รองรับการส่งออกอาหารไทยสู่ต่างประเทศ

เมื่อวันที่ 9 ส.ค.61 ศูนย์การแปลภาษาและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แก่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดตัวแอปพลิเคชัน Thai Food Terms โดย นางกิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า คณะอักษรศาสตร์ โดยศูนย์การแปลฯ ได้ร่วมกับเนคเทคในการพัฒนาแอปพลิเคชัน Thai Food Terms ซึ่งรวบรวมคำศัพท์เกี่ยวกับอาหารไทยถึง 1,600 ราย แปลเป็นภาษาตะวันตกและตะวันออก 7 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี และสเปน ซึ่งเป็นภาษาที่มีการเรียนการสอนและวิจัยของคณะอักษรฯ บางภาษาบรรจุอยู่ในหลักสูตรมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 2460 จนสามารถผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญภาษาในแต่ละด้านเพื่อรับใช้ประเทศและสังคม

สำหรับแอปพลิเคชัน Thai Food Terms เป็นนวัตกรรมในการนำเสนอคำศัพท์อาหารไทยรูปแบบใหม่ มีภาพประกอบ เสียงภาษาไทยและภาษาต่างประเทศนั้นๆ ประกอบทุกคำเพื่อความสะดวกในการใช้งานโอกาสต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง โดยเนคเทคได้ช่วยพัฒนาระบบบนแพลตฟอร์มในระบบปฏิบัติการแอนดรอย์ (Android) และไอโอเอส (iOS) ทำให้ข้อมูลต่างๆปรากฏในสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ขณะเดียวกัน ยังเป็นการส่งเสริมความรู้และความเข้าใจอันดีเกี่ยวกับอาหารไทย สนับสนุนการขยายตัวด้านอุตสาหกรรมและการส่งออกอาหารไทยไปต่างประเทศ ยังเป็นประโยชน์ต่อบุคคลทั่วไปหลายอาชีพ อาทิ นักแปล ล่าม นิสิต นักศึกษา พนักงานสายการบิน พนักงานโรงแรม ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอาหารไทยและนักท่องเที่ยวจากประเทศต่างๆ

ด้าน นางสารภี แกสตัน ผู้ประสานงานโครงการพจนานุกรมอาหารไทย 7 ภาษา กล่าวว่า การพัฒนาแอปพลิเคชันดังกล่าวภายใต้โครงการพจนานุกรมอาหารไทย 7 ภาษา เป็นการต่อยอดจากงานวิจัยเรื่อง ปัญหาการแปลชื่ออาหารไทยเป็นภาษาตะวันตก ที่คณะอักษรฯ เคยได้ดำเนินการเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา แต่ในครั้งนี้ได้พัฒนาให้เป็นพจนานุกรมเฉพาะทางและขยายผลไปสู่ภาษาตะวันออก คือ จีนและญี่ปุ่น ซึ่งนำเสนอในรูปแบบ 2 ภาษา เช่น แอปพลิเคชัน Thai Food Terms ไทย-อังกฤษ, ไทย-ฝรั่งเศส เป็นต้น แบ่งเป็น 14 หมวด รวม 1,600 รายการ ได้แก่ อาหาร,พืชผัก,ดอกไม้ที่รับประทานได้,ผลไม้,เครื่องเทศ,เครื่องปรุงรส,ข้าวธัญพืช,อาหารประเภทเส้น,เนื้อสัตว์,อาหารทะเล,วิธีประกอบอาหาร,เครื่องดื่ม,เครื่องใช้ในครัว และศัพท์ทั่วไป สำหรับวิธีการค้นหาสามารถทำได้ง่าย โดยค้นจากหมวดคำศัพท์ คำภาพ หรือค้นจากดัชนี ซึ่งในแต่หมวดจะมีภาพและเสียงประกอบ

อย่างไรก็ตาม แอปพลิเคชัน Thai Food Terms เปิดให้ดาวน์โหลดได้ในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เวอร์ชัน 6 ขึ้นไป และระบบไอโอเอส เวอร์ชัน 9 ขึ้นไป โดยสามารถดาวน์โหลดฟรีเวอร์ชันเพื่อทดลองการใช้งานได้ แต่หากสนใจเวอร์ชันสมบูรณ์จำหน่ายราคา 99 บาท

นายชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยวิทยาการสื่อสารของมนุษย์และคอมพิวเตอร์ เนคเทค กล่าวว่า ภาษาและไอทีมีความเกี่ยวข้องกัน เนคเทคมีการพัฒนางานวิจัยที่ใช้เทคโนโลยีด้านภาษาธรรมชาติและความหมาย หรือพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ มีนโยบายสนับสนุนให้หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ตลอดจนบุคลากรสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ได้อย่างทั่วถึง ซึ่งการที่เนคเทคทำงานด้านนี้มาอย่างต่อเนื่อง มีการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานไว้พร้อมแล้วเมื่อต้องไปพัฒนาไปสู่การสร้างพจนานุกรมเฉพาะทางจึงไม่ใช่เรื่องยาก ที่ผ่านมาได้ร่วมกับสมาคมแฟชันทำ พจนานุกรมแฟชัน ล่าสุดคือร่วมกับคณะอักษรฯ ทำพจนานุกรมคำศัพท์อาหารไทย ถือเป็นครั้งแรกและเชื่อว่ายังไม่มีในประเทศไทย ซึ่งการแปลอาหารต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ ยังต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ความถูกต้องในทางภาษาศาสตร์

ทั้งนี้ แอปพลิเคชัน Thai Food Terms ทั้ง 7 ภาษามีขนาดอยู่ที่ประมาณ 270-287 เมกะไบต์ ในอนาคตจะพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง และให้ดาวน์โหลดเพียงแอปพลิเคชันเดียวมีครบทั้ง 7 ภาษา

 

ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/809898